การใส่ปุ๋ยและการให้แสง

ดอกเบญจมาศ

การใส่ปุ๋ยและการให้แสง

 
การใส่ปุ๋ย :  เมื่อกิ่งชำตั้งตัวแล้ว เราควรเร่งให้มีการเจริญเติบโตทางลำต้น โดยใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง  เช่น  แอมโมเนียมซัลเฟต 1-2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร รด 2 ครั้งห่างกัน 7-10 วัน และใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 โรยตามร่องระหว่างแถวทุก 15 วัน เมื่อเกิดตาดอกให้ใช้ปุ๋ยอัตรา 1:2:1 เช่นสูตร 12-24-12 และเสริมด้วยปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารรอง เพื่อเร่งการออกดอก เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว ควรงดการให้ปุ๋ย เพื่อให้ดอกมีคุณภาพดี แต่ก่อนที่ตัดดอก 5-7 วัน ควรใช้โปแตสเซียมคลอไรด์ 1 ช้อนแกงละลายน้ำ 20 ลิตร รดที่ต้นเพื่อช่วยให้ก้านดอกแข็งแรงและดอกบานทนขึ้น

การ ให้แสง : เพื่อป้องกันไม่ให้เบญจมาศออกดอกเร็ว ทั้งที่ต้นไม่สมบูรณ์ ในช่วงวันสั้นอาจใช้หลอดไฟ 100 วัตต์ ติดตั้งเหนือพื้นดิน 2 เมตร ระยะแต่ละหลอดห่างกัน 2 เมตร เปิดช่วงเวลา 22.00 –2.00 น. การควบคุมการให้แสงไฟในตอนกลางคืนนี้จะเริ่มเปิดตั้งแต่เริ่มปลูก จนกระทั่งต้นสูง 30-40 ซม. จึงปิดไฟให้ต้นรับแสงตามปกติเพื่อให้เกิดตาดอกและพัฒนาเป็นดอกต่อไปการใช้ ผ้าดำ   ในการปลูกช่วงวันยาวหรือการปลูกนอกฤดูต้องมีการใช้ผ้าดำที่มืดสนิทคลุม แปลงปลูกในเวลา 18.30 – 08.00 ของวันใหม่ จนกว่าจะเริ่มเห็นสีดอก

ดอกเบญจมาศ

 

ดอกเบญจมาศ

 


Photo
รูปภาพ

ดอกเบญจมาศ
ภาษาอังกฤษเรียกว่า คริสแซนติมั่ม หรือ คริสแซนติมุ่มก็ได้ Chrysanthemum
ดอก เบญจมาศเหมือนดอกเก๊กฮวยค่ะอยู่ในเพียงแต่ดอกเล็กกว่าโดยทั่วไปแ่ต่ไม่มี ใครเรียกชื่อเต็มๆหรอกค่ะเพราะเรียกยาก ภาษาก็มาจากภาษากรีกที่แปลว่า ทอง Chrysosกับคำว่า แอนโธส Anthos
ที่แปลว่า ดอกไม้ ค่ะเรียกกันยากนักเลยเรียกกันอย่างย่นย่อว่ามัมส์ “moms”
ยังมีอีกชื่อค่ะที่ชอบเรียกกันทั่วไปว่า “แทนซี่ ”

ดอกเบญจมาศถือว่าเป็น ดอกไม้มงคลของจีน
มีอยู่ 4 ชนิดคือดอกเบญจมาศ ดอกท้อ ต้นไผ่ และดอกกล้วยไม้
ความหมายของต้นไม้มงคลที่เกิดจาก นักกวี หรือนักปราชญ์จีน
ได้เขียนกวี หรือบทประพันธ์เปรียบเทียบไว้ ซึ่งเมื่อบทกวีได้รับความนิยม
ต้นไม้เหล่านั้นก็กลายเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมใน ความหมายตามบทกวีนั้นๆ ด้วย

“ดอกเบญจมาศ” (ดอกฉุยฮัว) นักกวีชาวจีนชื่อ เผาหยวนหมิง
บทกวีเอกของจีน ได้เขียนกวีบทหนึ่ง โดยเปรียบเทียบดอกเบญจมาศว่าเป็นนักปราชญ์
ผู้มีจริยวรรตงดงาม ซึ่งบทกวีนี้ได้รับความยกย่องว่าเป็นบทกวีที่ไพเราะงดงามมาก

“ต้นหลานฮวา” หรือคนไทยรู้จักกันในนามว่ากล้วยไม้ดิน
กวีเอก เผาหยวนหมิง เขียนกวีไว้อีกบทว่า ต้นหลานฮัวเหมือนกับวิญญูชน
ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความดีที่บริสุทธิ์ ไม่โกงกิน ไม่ทำร้ายใคร
จึงนิยมมอบให้กับคนที่ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต

ดอกเบญจมาศเป็นไม้ล้มลุกดอกเบญจมาศเป็นดอกไม้ตระกูลดอกเดซี่ค่ะ
ดอกใหญ่ดอกเดียวเด่นมีก้านแข็งแรงบานทนเกือบสิบวัน มีกว่า 100 สายพันธ์
ปลูกครั้งแรกที่จีน ญี่ปุ่น เมื่อ 3,000 กว่าปีมาแล้ว
เป็นดอกที่ชอบแสงแดดจัด ดินที่มีการระบายนํ้าค่อนข้างดี
บางสายพันธ์ุมีกลิ่นแรง จะมีกลิ่นฉุนมากกว่าหอม

ดอกเบญจมมาศเป็นดอกไม้ที่นิยมให้แก่คนอันเป็นที่รัก
ดอกเบญจมามาศมีหลายสีค่ะและมีความ หมายต่างกันเช่น
สีแดงสำหรับความรักและความมีโชคดี ความปรารถนาดี
สีขาวหมายถึง สัจจะ จีนหมายถึงชนชั้นสูง
ดอกเบญจมาศ เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพจีนยุคเก่าก่อนการปฎิวัติ และเป็นดอกไม้ของชนชั้นสูง
ย่อมเป็นของต้องห้ามสำหรับประชาชนธรรมดาๆ ทั่วไปที่จะปลูกดอกไม้ชนิดนี้ไว้เชยชม
สีเหลืองหมายถึงความรักที่ยั่งยืน
ภาพยนต์เรื่องหนึ่งของจีนก็ได้ใช้ดอกเบญมาศเป็นสัญลักษณ์
คือเรื่อง Curse of Golden Flower คำสาบของดอกไม้สีทอง คือดอกเบญจมาศสีเหลืองนี่เอง

บางประเทศในยุโรบจะถือว่าดอกเบญจมาศสีขาว หมายถึงความตายค่ะ
อันที่จริงดอกสีขาวหมายถึงสัจจะ หรือว่าความตายคือความจริงก็ถูกเหมือนกันนะคะ
ปัจจุบันมักจะหมายถึง ความสุขการมองโลกในแง่ดี ความเบิกบานแจ่มใส
รูปภาพ

ในญี่ปุ่นหมายถึงพระอาทิตย์ นำดอกเบญมาศมาจากจีนเมื่อปีคศ. 1400 ราชวงศ์ญี่ปุ่นชอบมาก
จึงนำเอามาเป็นตราลัญจกรของราชวงศ์สัญลักษณ์ของราชวงศ์ญี่ปุ่น หมายถึงความสมบูรณ์แบบไร้ที่ติ
ดอกเบญจมาศมีความหมายมากค่ะ
สำหรับทางเอเซียเช่นจีนและญี่ปุ่นตามที่่ Dogstar ที่ญี่ปุ่น เป็นสัญลักษณ์ของราชบัลลังก์
เป็นตราประทับของราชวงศ์เป็นชื่อเครื่องราช อิสริยาภรณ์ชั้นสูงของราชวงศ์
ที่มอบให้แก่บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ของประเทศ พระจักรพรรดิเป็นผู้มอบให้เท่านั้น
เป็นชื่อของเรือรบ ชื่อ คิกุกามอนโช (Kikugamonsho Battleship) ที่เกาหลี ญี่ปุ่น


 

เบญจมาศ : ความงดงาม สำหรับ ดวงตาและหัวใจ

เบญจมาศ : ความงดงาม สำหรับ ดวงตาและหัวใจ

ข้อมูลสื่อ

File Name :

286-013

นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม :

286

เดือน-ปี :

02/2546

คอลัมน์ :

ต้นไม้ใบหญ้า

นักเขียนรับเชิญ :

เดชา ศิริภัทร

Sat, 01/02/2546 – 00:00 — somsak

เดือนกุมภาพันธ์สำหรับคนไทยยุคนี้ คงจะถือเป็นเดือนแห่งความรัก เพราะมีวันวาเลนไทน์ หรือวันแห่งนักบุญวาเลนไทน์ (๑๔ กุมภาพันธ์) ซึ่งถือเป็นวันแห่งความรักอยู่ในเดือนนี้ ดูเหมือนคนไทยจะเฉลิมฉลองวันวาเลนไทน์กันจริงจัง และเอิกเกริกใหญ่โตยิ่งขึ้นทุกปี นับตั้งแต่มีผู้ริเริ่มให้ความสำคัญกับวันดังกล่าว ขึ้นเมื่อราวสิบกว่าปีมานี้

การยอมรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก และมีมานานแล้ว นับตั้งแต่ไทยเริ่มติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างชาตินาน หลายร้อยปีมาแล้ว แต่ในอดีตคนไทยมักจะกลั่นกรองและปรับใช้ให้ เหมาะกับสภาพที่เป็นอยู่โดยไม่ทิ้งของเดิมที่ดีอยู่แล้ว เช่น นำมาเสริมให้หลากหลายและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา ศิลปะ ดนตรี อักษรศาสตร์ อาหาร หรือภาษา เป็นต้น ดัง  จะเห็นได้จากคนไทยสามารถรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทยเอาไว้ได้ตลอดมาการรับ วัฒนธรรมวันวาเลนไทน์ก็น่าจะปรับให้เข้ากับวิถีไทยได้ หากคนไทยยังไม่ลืมฐานวัฒนธรรมไทย ที่มีอยู่เดิม

การเฉลิมฉลองวันวาเลน ไทน์ ของคนไทย นอกจากการจัดงานรื่นเริง การส่งข้อความอวยพร การเยี่ยมเยียน หรือการให้ของขวัญต่างๆ (เช่น ช็อกโกแลต)เป็นต้น แล้วสิ่งที่นิยมมากอย่างหนึ่งคือ การมอบ
ดอกไม้ให้กัน ซึ่งดอกไม้ที่นิยมมากที่สุดคือดอกกุหลาบ โดยเฉพาะดอกกุหลาบสีแดง ซึ่งมีความหมายแทนความรักนั่นเอง กล่าวกันว่าทุกปีชาวสวนจะเตรียมปลูกกุหลาบเอาไว้สำหรับตัดดอกในวันวาเลนไทน์ มากเป็นพิเศษ เพราะจะขายได้มากและราคาดีที่สุดในรอบปี นับเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของวันวาเลนไทน์

ความจริงดอกไม้ที่มอบให้กัน เพื่อแสดงความรัก ความปรารถนา ดีนั้น ไม่น่าจะผูกขาดอยู่เฉพาะดอก กุหลาบหรือสีแดงเท่านั้น ดอกไม้ ชนิดอื่นหรือสีอื่นก็น่าจะทำหน้าที่ ได้ดีเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับผู้รับและผู้ให้ เช่น คนเอเชียซึ่งมี   รากเหง้าวัฒนธรรมลึกซึ้งยาวนานเกี่ยวข้องกับดอกไม้ในท้องถิ่นมากมาย ก็ควรปรับเอาดอกไม้ที่มี ความผูกพันกับผู้คนในท้องถิ่นยาวนานมาเป็นตัวแทนความรักความปรารถนาดีในวัน วาเลนไทน์ ได้ สำหรับผู้เขียนเองแล้ว หากจะมอบดอกไม้วันวาเลนไทน์ให้   ผู้เป็นที่รักแล้ว ก็จะเริ่มตั้งแต่เพาะปลูกไม้ดอกดังกล่าวด้วยความรัก เอาใจใส่ดูแลด้วยความอาทร ชื่นชมยินดีที่ได้เห็นต้นค่อยๆ เติบโต ผลิกิ่งใบ จนเป็นดอกในที่สุด ดอกไม้ที่มอบให้ผู้เป็นที่รักจึงมิได้มีแต่ความงามของดอกไม้ เท่านั้น แต่ยังบรรจุความรัก ความ เอาใจใส่ ความผูกพัน เป็นต้น   ไปพร้อมกันด้วย ดอกไม้นั้นจะเป็นชนิดพันธุ์อะไรก็อาจเปลี่ยนไปได้ทุกปี แต่สิ่งที่บรรจุอยู่ในดอกไม้ควรจะเหมือนเดิม หรือเพิ่มพูนยิ่งขึ้นตามกาลเวลา อย่างไร ก็ตาม สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ปี ๒๕๔๖ นี้ ผู้เขียนขอส่งดอกไม้วันวาเลนไทน์ถึงผู้อ่านที่รักทุกท่าน ด้วยดอกเบญจมาศ
เบญจมาศ : ความงามแห่งจิตวิญญาณตะวันออก
เบญจมาศ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Chrysanthemum morifolium Ramat. อยู่ในวงศ์ Compositae เช่นเดียวกับทานตะวัน บานชื่น ดาวเรือง ดาวกระจาย เป็นต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กสูงประมาณ ๓๐-๙๐ เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม ใบยาวรี ขอบใบจัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อน ทั้งกิ่งก้านและใบของเบญจมาศมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ดอกออกตรงปลายกิ่ง อาจออกเป็นช่อหรือเป็นดอกเดี่ยวแล้วแต่สายพันธุ์ รูปร่างดอก ทรงกลมคล้ายทานตะวัน หรือบานชื่น มีกลีบเรียวยาวเรียงซ้อนกันโดยรอบหลายชั้น ลักษณะกลีบ ดอกบางสายพันธุ์ยาวมากและบิดม้วน มีชื่อเรียกเฉพาะว่าดอกประเภทแมงมุม (spider) ดอกเบญจมาศมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดโตมาก เส้นผ่าศูนย์กลางดอก มากกว่า ๒๐ เซนติเมตร ไปจนถึง ดอกขนาดเล็กประมาณ ๑ เซนติเมตร มีสีหลากหลาย เช่น เหลือง ขาว ชมพู ม่วง แดง เป็นต้น

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของเบญจมาศ เชื่อว่าอยู่ในประเทศจีน คนจีนเรียกดอกเบญจมาศว่าเก๊กฮวย (ดอกเก๊ก) และยังมีชื่ออื่นๆ อีก แต่คนไทยคุ้นเคยกับชื่อเก๊กฮวยมากกว่า

ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่นิยมเบญจมาศมากไม่แพ้ชาวจีน โดยตราจักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นรูปดอกเบญจมาศ ๑๖ กลีบ กล่าวกันว่า เบญจมาศเข้าสู่ญี่ปุ่นราวปี พ.ศ. ๑๓๔๐ คือประมาณ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว โดยเชื่อว่าเบญจมาศมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ คือวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ หากนำดอกเบญจมาศใส่ในถ้วยเหล้าสาเก แล้วดื่มเหล้าสาเกนั้น จะทำให้คงความหนุ่มสาวได้ตลอดกาล ความเชื่อนี้คงสืบเนื่องมาจากจีน เพราะจีนถือว่าเบญจมาศเป็นดอกไม้ประจำเดือน ๙ (ตุลาคม) และฤดูใบไม้ร่วง คนญี่ปุ่นเรียกดอกเบญจมาศว่า คิกุโนะฮานะ แปลว่าดอกไม้ของคิกุ มีตำนานเล่าสืบมาว่า คิกุเป็นหญิงสาวที่กำลังจะแต่งงาน ได้ทำการบวงสรวงถามเทวดาว่าจะได้ครองคู่กับสามีนานกี่ปี เทวดาบอกว่าจะได้อยู่กับสามีนานเท่ากับจำนวนกลีบดอกไม้ที่นำมาบูชาเทวดา คิกุ รักสามีมากอยากจะอยู่ด้วยนานปีที่สุด จึงพยายามแสวงหาดอกไม้ที่ มีกลีบมากที่สุด แต่ก็หาดอกไม้ได้ เพียง ๑๗ กลีบเท่านั้น ด้วยความเฉลียวฉลาด คิกุจึงใช้มีดกรีดกลีบดอกไม้ดังกล่าวออกเป็นฝอยเล็กๆนับไม่ถ้วน จึงทำให้ได้ครองคู่กับสามีได้ชั่วกาลนาน ตำนานดอกเบญจมาศ (คิกุ) ของญี่ปุ่นจึงเป็น ตำนานแห่งความรักโดยแท้เป็นรักที่คงทนยั่งยืน เหมาะที่จะเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักของชาวตะวันออกเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับ ประเทศไทยนั้น เบญจมาศได้มีการนำเข้ามาปลูกนานมาแล้วโดยคนจีน เท่าที่ปรากฏ ในวรรณคดีเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แสดงว่าคนไทยสมัยนั้นคุ้นเคย  กับเบญจมาศดีแล้ว ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล พ.ศ.๒๔๑๖ ก็กล่าวถึงเบญจมาศไว้ว่า “เบญมาศ : เปนชื่อต้นไม้ดอกเล็กอย่างหนึ่ง” แสดงว่าคนไทยสมัยนั้นรู้จักเบญจมาศกันแพร่หลายแล้ว
น่า สังเกตว่า หนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ.๒๔๑๖ เขียนว่า เบญมาศ ซึ่งตรงกับชื่อถนนในกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ ๕ คือ ถนนเบญมาศ หรือถนนเบญมาศ นอก ซึ่งในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ถนนราชดำเนินนอก นั่นเอง ในหนังสือ พรรณพฤกต ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๗ หลังหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล ๑๑ ปี ก็เขียนว่า เบญมาศเหมือนกัน
ในภาษาไทยมีคำว่า เบญ-พัตร (ต้นไม้ชนิดหนึ่ง) เบญกานี (ต้นไม้และสมุนไพร) รวมทั้ง เบญพาด (เสาตะลุงที่มีไม้พาดถึง กัน) ทำให้สงสัยว่า แต่เดิมคนไทย อาจเรียกว่า เบญมาศ เพราะดอก มีสีเหลือง แต่ต่อมากลายเป็นเบญจมาศไปในช่วงหลังสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง
ปัจจุบัน เบญจมาศถูกนำไปปลูกทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตอบอุ่นที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียง กับประเทศจีนอันเป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของเบญจมาศ ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปมีการปลูกและพัฒนาสายพันธุ์เบญจมาศออกไป อย่างกว้างขวาง ได้รับการนิยมติดอันดับต้นๆ ของดอกไม้ยอดนิยมเลยทีเดียว ภาษาอังกฤษ เรียกเบญจมาศว่า Chrysanthemum ในสหรัฐอเมริกาเรียกสั้นๆ ว่า mum ก็เข้าใจกันดี

ในอังกฤษถือว่า เบญจมาศ เป็นดอกไม้ประจำเดือนพฤศจิกายน
ประโยชน์ของเบญจมาศ
เบญจมาศ มีสรรพคุณทางสมุนไพรเป็นที่รู้จักกันมายาวนาน โดยเฉพาะดอกของเบญจมาศบางพันธุ์คือ พันธุ์ดอกสีขาวขนาดเล็ก กลิ่นหอม ที่นำมาตากแห้งแล้วต้มน้ำร้อนดื่มที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อน้ำเก๊กฮวย มีสรรพคุณแก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อ่อนเพลีย ชูกำลังและบำรุงหัวใจ มีกลิ่นหอม เฉพาะตัว นอกจากเบญจมาศดอก สีขาวของจีนแล้ว ดอกเบญจมาศสีเหลืองขนาดเล็กที่เรียกว่า เบญจมาศหนู (Chrysanthemum indicum Linn.) ที่ปลูกในเมืองไทยได้ดี มีกลิ่นหอม ก็นำมาตาก แห้งชงน้ำร้อนเป็นน้ำเก๊กฮวยได้เช่นเดียวกัน สรรพคุณเหมือนกัน คนไทยจึงควรหาเบญจมาศหนู มาปลูกเอาไว้ดูความน่ารักของดอกขนาดเล็กที่เป็นช่อดกและใช้ประโยชน์ทาง สมุนไพรได้ไม่แพ้ดอกเก๊กฮวยสีขาวจากจีน

ประโยชน์ด้านหลักของเบญจมาศใน ปัจจุบันอยู่ที่การปลูก เป็นไม้ดอกไม้ประดับ ทั้งการปลูก ตัดดอกขาย ซึ่งนิยมปลูกพันธุ์ดอกเดี่ยวขนาดใหญ่สีต่างๆ เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มียอดซื้อขายทั่วโลกปีละหลายพันล้านบาท นอก จากนี้ยังเป็นไม้ดอกในกระถาง ไม้ดอกตามข้างทาง สวนสาธารณะ หรือสวนหลังบ้าน เป็นต้น

เบญจมาศชอบแสง แดดและ ดินที่ระบายน้ำได้ดี เป็นพืชปลูกง่ายแข็งแรงทนทาน ออกดอกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยการแยกหน่อหรือปักชำ บางครั้งใช้ปลูกด้วยเมล็ดในบางสายพันธุ์

ท่านผู้อ่านคงเข้าใจแล้วว่า เหตุใดผู้เขียนจึงเลือกดอกเบญจมาศเป็นของขวัญในเดือนแห่งความรักปี ๒๕๔๖ นี้ มีคำกล่าวว่าความรัก กับความเข้าใจเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออกหากเราจะรักสิ่งใดได้อย่าง แท้จริง เราต้องเข้าใจสิ่งนั้นให้ลึก ซึ้งพอเสียก่อน เมื่อผู้อ่านเข้าใจเบญจมาศมากพอแล้ว ก็คงจะรักเบญจมาศเหมือนที่ผู้เขียนรักอยู่ในขณะนี้และต่อไปในอนาคต

 

 

การจัดมาตรฐาน

ดอกเบญจมาศ

การจัดมาตรฐาน

   

    anidia_blue_1.gif   กลุ่มดอกเดี่ยว

ชั้น 1
1. กลุ่มดอกใหญ่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอก 4.5 นิ้วขึ้นไป กลุ่มดอกเล็กมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ดอก 3.5 นิ้วขึ้นไป
2. ความยาวของก้านดอก 60 ซม.ขึ้นไป
3. ใบ ดอก และก้านต้องสมบูรณ์ มีลักษณะตรงตามพันธุ์

ชั้น 2
1. กลุ่มดอกใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอก 3-4.5 นิ้ว   กลุ่มดอกกลาง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ดอก 3-4 นิ้ว  กลุ่มดอกเล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอก 3 นิ้ว
2. ความยาวก้านดอก 50 ซม.ขึ้นไป
3. ใบ ดอก และก้านดอกสมบูรณ์ มีลักษณะตรงตามพันธุ์

ชั้น 3
1. เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกมีขนาดต่ำกว่า 3 นิ้ว
2. ความยาวก้านดอก 40 ซม.ขึ้นไป
3. ใบ และดอก มีตำหนิได้บ้างเล็กน้อย ประมาณ 5 เปอร์เซนต์

    anidia_blue_2.gif   กลุ่มดอกช่อ

ชั้น 1
1. จำนวนดอกที่จะบานได้ต่อช่อ 5 ดอกขึ้นไป
2. ความยาวก้านดอก 60 ซม.ขึ้นไป
3. ขนาดของก้านสม่ำเสมอ ใบ และดอกสมบูรณ์

ชั้น 2
1. จำนวนดอกที่จะบานได้ต่อช่อ 5 ดอกขึ้นไป
2. ความยาวก้านดอก 50 ซม.ขึ้นไป
3. ขนาดของก้านสม่ำเสมอ ดอกและใบไม่มีตำหนิ

ชั้น 3
1. จำนวนดอกที่จะบานได้ต่อช่อน้อยกว่า 5 ดอก
2. ความยาวก้านดอก 50 ซม.
3. ก้านอาจจะเล็กกว่าเกรด  1  และ  2  แต่ต้องยังมีความแข็งแรง   ดอกและใบมีตำหนิได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์

     anidia_blue_3.gif  การเข้ากำ
กลุ่มช่อดอกกว้าง   เข้ากำ 3 ก้านขึ้นไปต่อ 1 กำหรือให้ได้ความกว้างของหน้าดอกใน  1 กำ
ประมาณ 25 ซม.

          กลุ่มช่อดอกขนาดกลาง   เข้ากำ 4  ก้านต่อกำขึ้นไปหรือความกว้างหน้าดอก 1  กำประมาณ
20 ซม.

          กลุ่มช่อดอกแคบ    เข้ากำ 7 ก้านต่อกำขึ้นไป   หรือความกว้างของหน้าดอก 1 กำ  ประมาณ
20 ซม

   

การใช้สารเคมี

ดอกเบญจมาศ

การใช้สารเคมี

      การดูดน้ำของเบญจมาศอาจจะไม่ดีพอถ้าหากก้านส่วนล่างสุดมีสภาพเป็นไม้เนื้อแข็ง   ซึ่งแก้ไข
ได้โดยการตัดก้านให้เหนือจากบริเวณดังกล่าวประมาณ  10  ซม.  หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว  แช่ลงในสาร
เคมีซึ่งประกอบด้วย เกลือเงินไนเตรทเข้มข้น 25 มก./ลิตร จนถึงเวลาบรรจุหีบห่อ หรือถ้าใช้ความเข้ม
ข้น1,000 มก./ลิตร  จะย่นระยะเวลาการแช่เหลือ  10  นาทีได้  ในกรณีที่ตัดดอกตูมมากอาจจะใช้สาร
เคมีบางชนิดช่วยทำให้ดอกบานเร็วขึ้น   และมีขนาดดอกตามปกติ   สารเคมีที่ใช ้  ประกอบด้วยน้ำตาล
ซูโครส 2-3 เปอร์เซนต์  เกลือเงินไนเตรท 25 มก./ลิตร   กรดซิตริก (citric acid) 75 มก./ลิตร โดย
ควรแช่ในสภาพอุณหภูมิ ประมาณ 20-22 องศาเซลเซียส  และมีแสงความเข้ม  1,000 – 1,500 ลักซ์
นาน 16 ชั่วโมงต่อวัน การเหลืองของใบเบญจมาทำให้ดอกหมดคุณภาพไปด้วย  ซึ่งอาจจะแช่ก้านดอก
ในฮอร์โมนไซโตไคนินเพื่อป้องกันการเหลืองของใบได้ โดยเฉพาะในกลุ่ม pompons

โรคและแมลง


 

ดอกเบญจมาศ

  โรคและแมลง

    anidia_pink.gif  โรค
1. โรคใบแห้ง  เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  Erwinia chrysanthemi  อาการเริ่มแรก  ยอดจะเหี่ยวในเวลากลางวัน   และฟื้นในเวลากลางคืน   ต่อมายอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาล   โรคนี้ระบาดมากในสภาพ
อากาศร้อนและความชื้นสูง เชื้อโรคจะติดมากับเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น มีดหรือกรรไกร
การป้องกันกำจัด ควรใช้กิ่งปักชำที่ปราศจากโรคมาปลูก และถ้ามีโรคระบาดในแปลงควรเผาทำลาย หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทสเตรปโตมัยซิน
2. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Septoria sp. ระบาดมากในฤดูฝน  มีอาการคือ ใบจะเป็นจุดสีน้ำตาล ไหม้แผลค่อนข้างกลม เมื่อเป็นมากๆ   แผลจะขยายใหญ่ติดกันจนทำให้ใบไหม้แห้งและร่วง  มักเป็นใบ
ล่างขึ้นมาจนถึงยอด
การป้องกันกำจัด ไม่ควรปลูกเบญจมาศชิดกันมาก ทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวกมีผลให้ความชื้นสูงที่โคนต้นง่ายต่อการระบาดของโรค   และควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา  เช่น  แคบแทน,
มาเนบ ,  และไซเนบ  อย่างสม่ำเสมอ
3. โรคดอกเน่า เกิดจากเชื้อรา Choanephora sp. ระบาดมากในฤดูฝน อาการที่พบคือกลีบดอก เน่าช้ำเป็นสีน้ำตาลแก่ เกิดได้ทั้งในดอกอ่อนและดอกแก่
การป้องกันกำจัด ในฤดูฝนควรฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไซเนบ, แคบแทน, ไดเทน เอ็ม45 โดยใช้ร่วมกับยาจับใบ
4. โรคราสนิม  เกิดจากเชื้อเรา  Puccinia chrysanthemi  มักเป็นกับเบญจมาศที่ปลูกทางภาค
เหนือ สังเกตได้ที่ใบ, กลีบดอก และก้านดอก จะพบสปอร์ของเชื้อราเป็นสีเหลืองที่บริเวณเหล่านี้ ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล
การป้องกันกำจัด ดูแลแปลงปลูกให้สะอาด และฉีดพ่นด้วยเพลนท์แวกซ์ ทุก ๆ 7 วันในช่วงที่มีการ
ระบาด

    anidia_pink_1.gif  แมลง
1.หนอนผีเสื้อกินดอก  จะกัดกินใบและยอดเบญจมาศขณะยังไม่ออกดอก   แต่เมื่อเบญจมาศออกดอก
หนอนจะกัดกินกลีบดอกและทำให้ดอกร่วง
การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นด้วย บาซูดิน 40% ชนิดผง 2-3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ปี๊บ
2.หนอนเจาะสมอฝ้าย มักกัดกินดอกเป็นหย่อม ๆ ทำให้ดอกไม่ได้คุณภาพ
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วย อโกรน่า, แบคโ สบิน, แอมบุช หรือแลนเนท
3.เพลี้ยไฟ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากกลีบดอก ทำให้ดอกไม่บานหรือดอกแหว่ง และทำให้กลีบดอกเหี่ยวแห้ง     การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยพอสซ์ อัตรา 2 ช้อนต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่น 3 วันต่อครั้ง เมื่อถึงระยะดอก เริ่มบานให้ฉีดวันเว้นวัน ติดต่อกัน 7 ครั้ง
4.เพลี้ยอ่อน  ดูดกินน้ำเลี้ยงที่โคนกลีบดอก  ทำให้ดอกหงิกงอไม่บานหรือยอดคดงอ  ดอกมีขนาดเล็กลง
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออน 57% EC อัตรา 2-3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือบาซูดิน 60% EC อัตรา 2-3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ปี๊บ 


  

ข้อมูลทั่วไปของดอกเบญจมาศ

 

ดอกเบญจมาศ

ข้อมูลทั่วไป

 


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendranthemum grandifflora (เดิมชื่อ Chysanthemum morifolium)

วงศ์ : Asteraceae(เดิมวงศ์ Compositae)

ถิ่นกำเนิด : ในประเทศญี่ปุ่นและจีน

เบญจมาศเป็นดอกประเภท Head เกิดจากการรวมดอกย่อย 2 ชนิด คือ กลีบดอกชั้นนอก (Ray floret) ซึ่งเป็นดอกตัวเมีย ไม่มีเกสรตัวผู้ และกลีบดอกชั้นใน (Disk floret) ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เบญจมาศ แยกตามประโยชน์ใช้สอยและการปลูกปฏิบัติ ได้ 4 ประเภท ดังนี้

1. Exhibition type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ไม่มีการเด็ดยอดแต่ต้องเด็ดตาข้าง ทิ้งเพื่อให้เหลือดอกยอดเพียง 1 ดอก
2. Standard type มีดอกเล็กกว่าประเภท แรก ต้องเด็ดยอดเพื่อให้แตกกิ่งข้าง 3-4 กิ่ง และเด็ดดอกข้างทิ้งให้เหลือดอกยอดเพียงดอกเดียว นิยมใช้เป็นไม้ตัดดอก
3. Spray type เบญจมาศประเภทนี้เป็นประเภทที่มีหลายดอกต่อ 1 กิ่ง และมี 6-10 กิ่งต่อต้น ไม่มีการเด็ดดอกข้าง ดอกมีขนาดเล็กกว่าประเภท Standard type ใช้ปลูกเป็นไม้ตัดดอกหรือถอนขายทั้งต้นโดยตัดรากทิ้ง
4. Potted plant เบญจมาศประเภทนี้ใช้ปลูกเป็นไม้กระถาง มีทรงพุ่มกะทัดรัด ดอกดก และมีดอกขนาดเล็กแตกกิ่งก้านมาก

 เบญจมาศประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ดอกที่อยู่รอบนอกและมีการเจริญเติบโตดีกว่า มองเห็นกลีบดอกได้ชัดเจนกว่าเราจะเรียกว่า ดอกชั้นนอก ซึ่งเป็นดอกที่มีแต่เกสรตัวเมีย ไม่มีเกสรตัวผู้ ส่วนดอกที่อยู่วงในเข้าไปและมีการเจริญเติบโตช้า มองเห็นกลีบดอกไม่ชัดเจน เพราะมีกลีบดอกสั้น รวมกันเป็นกระจุกตรงกลางดอก ซึ่งมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่รวมกัน  เบญจมาศนั้น มีสีเหลืองสวยงามแต่จะไม่มีกลิ่น

 

เบญจมาศ..ดอกไม้กินได้ แก้สารพัดโรค

ทั้งแก้โรคตับ ไขข้ออักเสบ ปวดหัว ป้องกันโรคผมหงอก

 

 

 

เบญจมาศ เป็นไม้ล้มลุกที่มีมากมายหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ก็มีลักษณะดอกแตกต่างกันไป บางสายพันธุ์ก็ดอกเล็กบางพันธุ์ก็ดอกใหญ่ นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอกที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดีและ ถ้าหากปลูกลงกระถางไว้ในบ้านจะช่วยได้ดีในเรื่องของการลดมลพิษในอากาศ

 

ลักษณะ โครงสร้างของดอกเบญจมาศจะมีลำต้นเป็นพุ่ม แตกกิ่งก้าน ใบ ลำต้นมีขนอ่อนๆ ดอกจะมีกลีบดอกแยกเป็นชั้นๆ ตามรูปร่าง มีหลายสี เช่น สีเหลือง สีขาว สีม่วงที่เรามักจะคุ้นเคยกัน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง จะใช้ดอกเบญจมาศในการจัดแจกันดอกไม้ จัดงานเทศกาลต่างๆ ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกโอกาส

 

ส่วน ใหญ่เราจะเห็นเบญจมาศเป็นดอกที่ใช้ประดับเพื่อความสวยงาม แต่รู้หรือไม่ว่าเบญจมาศยังสามารถใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคและรับประทานได้ เช่นทำเป็นชาชงดื่ม

 

ดอกเบญจมาศ แห้ง 1 ช้อนชา

น้ำ 1 ถ้วย

ต้มน้ำรอไว้ ใส่ดอกเบญจมาศแห้งลงไปในถ้วย พอน้ำเดือดให้เทน้ำร้อนตามลงไป กรองเอาเศษดอกไม้ออก แค่นี้ก็จะชาที่น่าดื่มเพื่อสุขภาพแล้ว

 

เกือบ ทุกส่วนของเบญจมาศที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ดอก ใบ ลำต้นสามารถที่จะแก้โรคตับ ไขข้ออักเสบ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดหัว ป้องกันโรคผมหงอก ขับลม เป็นยาเจริญอาหาร บำรุงประสาท และสายตา ดอกแห้งรับประทานต้มกินแก้ร้อนใน ทำยาหอม ยาชูกำลัง ใบและลำต้น ตำพอกรักษาแผลน้ำร้อนลวกและโรคผิวหนัง

 

ดอกไม้ บางอย่างใช่ว่าจะสวยแด่ดอก หากรู้จักที่ศึกษาและเล็งเห็นถึงคุณค่าของมัน รับรองได้ว่าจะได้รับประโยชน์คุ้มค่าเลยทีเดียวอย่างเช่นดอกเบญจมาศนี้ค่ะ

 

ตำนานดอกเบญจมาศ – ดอกไม้มงคลแห่งเอเซีย

ตำนานดอกเบญจมาศ – ดอกไม้มงคลแห่งเอเซีย

 

แม้ว่าเบญจมาศ อาจจะเป็นดอกไม้ที่เราพบเห็นกันเสมอ

แต่น้อยคนจะรู้ว่า ดอกเบญจมาศ นั้น มีคุณค่าทางจิตใจ

ดอกเบญจมาศ เป็นตัวแทนของสิ่งดีๆ ตามตำนานของเอเซีย

และยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย ทำให้ดอกเบญจมาศนั้น

ได้รับความนิยมมายาวนาน เคียงคู่ภูมิปัญญาตะวันออก นั่นเอง

…..

 

…..

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม ของ เบญจมาศ เชื่อว่าอยู่ใน ประเทศจีน

คนจีนเรียกดอกเบญจมาศ ว่า เก็กฮวย

ส่วนชาวญี่ปุ่นเรียกดอกเบญจมาศ ว่า  คิกุโนะฮานะ

เป็นตัวแทนความรักความจริงใจและแสงสว่างแห่งความหวัง

คิกุโนะ เป็นชื่อของ หญิงสาวชาวญี่ปุ่น ตามตำนานที่เล่าสืบมา

หญิงสาวผู้นี้มีความรักให้กับสามีอย่างลึกซึ้ง

ต่อมา สามีเธอป่วย เธอจึงได้บรวงสรวงถามเทพเจ้า

ถึงระยะเวลาที่จะได้ครองคู่อยู่กับสามีของเธอ

ทันใดนั้น ก็เกิดนิมิตประหลาด บอกกับเธอว่า

หากเธอสามารถหาดอกไม้ที่มีจำนวนกลีบมากๆมาบูชาเทพเจ้า

ก็จะทำให้สามีของเธอ มีอายุยืนยาวเท่ากับจำนวนกลีบของดอกไม้นั้น

เธอจึงพยายามแสวงหาดอกไม้ที่มีกลีบมากที่สุด

แต่ก็ไม่มีดอกไหนเลยที่มีจำนวนกลีบมากเท่าที่เธอต้องการ

ในที่สุด เธอก็ตัดสินใจเอาดอกไม้ที่มีกลีบมากที่สุด

มากรีดให้แต่ละกลีบเป็นฝอยยาว

จนกลายเป็นดอกไม้ที่มีกลีบนับไม่ถ้วน

เทพเจ้าเห็นความตั้งใจจริง ของ คิกุโนะ

จึงบันดาลให้สามีเธอหายป่วย และอยู่ครองคู่กับเธอไปชั่วกาลนาน

…..

 

…..

ดอกเบญจมาศ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความดีงามอันเป็นมงคล

แม้แต่ตราจักรพรรดิญี่ปุ่น ก็เป็นรูปดอกเบญจมาศ 16 กลีบ

นอกจากนี้ เชื่อกันว่า เบญจมาศ มีสรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ

หากนำดอกเบญจมาศใส่ในถ้วยเหล้าสาเก

แล้วดื่มเหล้าสาเก ในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 (เดือนตุลาคม)

จะทำให้เราคงความหนุ่ม สาว ไว้ได้ตลอดกาลเลยทีเดียว

ด้วยความสวยงามโดดเด่น  และมีตำนานที่น่าชื่นชม

ทำให้ดอกเบญจมาศได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก

ในอังกฤษ นั้น ดอกเบญจมาศ เป็นดอกไม้ประจำเดือน พฤศจิกายน

เบญจมาศ พันธ์ดอกสีขาว ขนาดเล็ก กลิ่นหอม

ที่นำมาตากแห้ง แล้วต้มน้ำร้อนดื่ม เรารู้จักกันดี คือ น้ำเก็กฮวย

มีสรรพคุณ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อ่อนเพลีย

เป็นยาชูกำลัง และ บำรุงหัวใจ ได้เป็นอย่างดี

นี่แหละครับ ดอกเบญจมาศ ดอกไม้ที่สวยงามและสดใส

..

คุณล่ะครับ มีดอกเบญจมาศ ไว้ที่บ้านกันแล้วหรือยัง?

การปลูกและการดูแลรักษาดอกเบญจมาศ

การปลูกและการดูแลรักษา

การเตรียมดิน : ควรทำในฤดูแล้ง โดยขุดพลิกหน้าดินตากแดดเอาไว้ 2 สัปดาห์  ย่อยดิน  เก็บวัชพืชออก และโรยปูนขาว เพื่อปรับสภาพดิน ดินที่เหมาะสำหรับปลูกเบญจมาศควรจะมีค่า pH ประมาณ 6  และถ้าเป็นพื้นที่ที่เคยปลูกมาก่อนควรอบดินด้วยเมธิลโบรไมด์ หรือบาซามิคจี เพื่อฆ่าเชื้อโรคและไข่แมลงในดิน เบญจมาศสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ถ้าจะให้ดีควรปลูกในดินที่โปร่ง ร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุเพียงพอและมีการระบายน้ำดี  แต่ถ้าปลูกเบญจมาศในที่ลุ่มน้ำท่วมถึงและเป็นดินเหนียว ระบายน้ำไม่ดี ควรยกร่องปลูก โดยขนาดแปลงกว้าง 5 เมตร ให้ร่องน้ำกว้าง 1 เมตร ลึก 60 ซม. หากปลูกในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดีก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องสูง แต่ควรให้แปลงสูง 15-20 ซม. ขนาดแปลงกว้าง 1.20 เมตร และทางเดินกว้าง 80 ซม.

วิธีการปลูก : การปลูกเบญจมาศ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การปลูกแบบเด็ดยอด โดยเด็ดยอดอ่อนหลังต้นกล้าตั้งตัวได้แล้ว และการปลูกแบบไม่เด็ดยอดหรือแบบต้นเดี่ยว ใช้ระยะปลูกที่ถือว่าการปลูกแบบเด็ดยอดใช้ต้นพันธุ์มากกว่า แต่การปลูกแบบนี้จะมีช่วงการเจริญเติบโตสั้นกว่าและคุณภาพดอกดีกว่าด้วยการปลูกเบญจมาศจะปลูกในฤดู ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม และ ปลูกนอกฤดู มกราคมถึงกรกฎาคม

การรดน้ำ : ควรรดน้ำตอนเข้า เพื่อให้น้ำที่เปียกใบมีโอกาสแห้งได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาของโรคราได้  เบญจมาศชอบอากาศหนาวหรืออบอุ่น ถ้าปลูกภาคเหนือจะได้ดอกที่ใหญ่และงามกว่า เบญจมาศไม่ชอบอากาศร้อนจัดจะทำให้ดอกเล็ก